วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Noun : คำนาม


คำนาม ( Nouns ) หมายถึงคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งต่างๆ สถานที่ คุณสมบัติ สภาพ อาการ การกระทำ ความคิด ความรู้สึก ทั้งที่มีรูปร่างให้มองเห็น และไม่มีรูปร่าง คำนามส่วนใหญ่จะวางไว้หน้าประโยค เพื่อทำหน้าที่ประธาน หรืออยู่หลังประโยคเพื่อทำหน้าที่เป็นกรรม
 คำนาม แบ่งตามลักษณะการใช้ออกเป็น  2 แบบคือ
         1. คำนามที่นับได้ (Countable  Noun) มีกฏเกณฑ์ในการเขียน ดังนี้
              - ถ้าเป็นเอกพจน์(Singular) ที่มีเพียงหนึ่ง เราจะใช้  a , an  นำหน้า
                     a  นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ
                     an  นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือนำหน้าพยัญชนะแต่ออกเสียง "ออ"
                เช่น
                      a  book   =  หนังสือ  1  เล่ม   
                      a  chair  =  เก้าอี้  1  ตัว
                      a  table  =  โต๊ะ  1  ตัว 
                      a  duck  =  เป็ด  1  ตัว
                      a  student   =  นักเรียน  1  คน
                      a  radio    =  วิทยุ  1 เครื่อง

                      an  ant  =  มด  1  ตัว 
                      an  elephant  =  ช้าง  1  ตัว
                      an  egg  =  ไข่  1  ฟอง
                      an  ear  =  หู  1  ข้าง
                      an  hour  (1 ชั่วโมง)  .ใช้ an นำหน้าถึงจะมีตัว H ที่เป็นพยัญชนะ อ่านออกเสียงตัว ออ
   
          2. คำนามที่นับไม่ได้ (Uncountable) ในภาษาอังกฤษคำนามที่นับไม่ได้จะเป็นรูปเอกพจน์เสมอ เราไม่สามารถเขียนในรูปพหูพจน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น อากาศ  อาหาร  เครื่องดื่มและคำนามอื่นๆซึ่งคำนามเหล่านี้จะเขียนไปเลย เช่น        
                     Rice (ข้าว)                                    bread (ขนมปัง)           
                     Sugar (น้ำตาล)                               coffee (ขนม)
                     Water (น้ำ)                                     tea (ชา)
                     milk (นม)                                       sugar (น้ำตาล) 
                     salt (เกลือ)                                      beef (เนื้อวัว)
                     pork (เนื้อหมู)                                honey (น้ำผึ้ง)
                     Furniture (เฟอร์นิเจอร์)                 Luggage (หีบห่อเดินทาง)
                     air (อากาศ)                                     soup (ซุป)

         ในทางไวยากรณ์นั้น  เอกพจน์หมายถึง  จำนวนเพียงจำนวนเดียว หรือพูดสั้น ๆ ก็คือ ตัวเดียว อันเดียว ส่วนพหูพจน์ก็ตรงกันข้ามกัน  คือจำนวนมาก  หรือหลายตัว  หลายอันนั่นเอง ดังนั้น  คำนามเอกพจน์ หมายถึงคำนามที่มีเพียงจำนวนเดียว (อันเดียว)  คำนามพหูพจน์  คือคำนามที่มีหลายจำนวน (หลายอัน)
คำนามเอกพจน์และพหูพจน์
คำนามเอกพจน์และพหูพจน์  ในภาษาอังกฤษค่อนข้างสร้างความสับสน  ให้กับนักเรียนไทยค่อนข้างมาก  เพราะคำนามบางคำเติม s บางคำ เติม es  หรือบางคำก็คงรูปไว้  ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องศึกษาในระดับสูง ๆ ต่อไป
คำนามเอกพจน์คือ  คำนามที่ไม่มีการเติม S ส่วนคำนามพหูพจน์  คือคำนามที่มี S

ตัวอย่างคำนามเอกพจน์  และพหูพจน์

เอกพจน์
พหูพจน์
คำอ่าน
ความหมาย
sister
boy
teacher
cat
dog
bird
egg
pen
house
school
market
bank
sisters
boys
teacher
cats
dogs
birds
eggs
pens
houses
schools
markets
banks
ซิสเตอะ
บอย
ทีชเชอะ
แค็ท
ดอก
เบิด
เอก
เพ็น
เฮาส
สกูล
ม๊าคิท
แบ็งค
พี่สาว
เด็กชาย
ครู
แมว
สุนัข
นก
ไข่
ปากกา
บ้าน
โรงเรียน
ตลาด
ธนาคาร





 แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดนะคะ

1. ข้อใดเป็นเอกพจน์
ส่วนบนของฟอร์ม
a. bird         b. cats            c. dogs              d. rabbits 

2.  ข้อใดเป็นพหูพจน์
  a. book     b.  snake          c.  cows            d.  rose

ส่วนล่างของฟอร์ม
3.  ข้อใดถูกต้อง
a.  a  books b.  an  birds    c.  milk    d.  an  rose

4. can หมายถึงข้อใด
a.  แมว   b.  รถยนต์ c.  วัว  d.  กระป๋อง

5. ข้อใดไม่ถูกต้อง
a. two  frogs b.  salt  c.  a  dogs d.  one  table

6. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
a.  tomato b.  hand c.  air d.  student

7. ข้อใดเป็นคำนาม
a.  hello    b.  tomorrow c.  cheese d.  think

8. ข้อใดเป็นคำนาม
a.  tea    b.  thanks  c.  happy d.  come

9. ข้อใดเป็นคำนาม
a.  slow  b.  sweet  c.  snake d.  star

10. ข้อใดเป็นคำนาม
a. stand b. smile  c. spoon d. sad

11. ข้อใดหมายถึงกล้วย 3 ผล
ส่วนบนของฟอร์ม
a. an apple b. a banana c. three apples d. three bananas

ส่วนล่างของฟอร์ม
12. ข้อใดหมายถึงลิง 1 ตัว
a. a monkey b.  an monkey c.  two monkeys d.  three monkeys

13. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
a. books b.  birds c.  milk d.  rose

14. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
a.  radio b.  coffee c.  king d.  John

15. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
a.  frog b.  salt c.  pineapple d.  policeman

16. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
a.  tomato b.  hand c.  air d.  student

17. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
a.  bus b.  sand c.  cheese d.  rice

18. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
a.  tea b.  rock c.  water d.  computer

19. ข้อใดเป็นคำนามผสม
a.  toothbrush b.  doctor c.  father d.  fox

20. ข้อใดเป็นคำนามผสม
a. clock b. mice c. classroom d. window


เฉลย : 1.a ,2.c ,3.c ,4.d ,5.c ,6.c ,7.c ,8.a ,9.c ,10.c ,11.d ,12.a ,13.c ,14.a ,15.b ,16.c ,17.a ,18.d ,19.a ,20.c



เนื้อหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น  ภาษาไทย อ่านและเขียนคำนาม, ศิลปศึกษา  วาดภาพประกอบคำศัพท์, การงานอาชีพและเทคโนโลยี่  งานประดิษฐ์ เลือกคำนาม 1  คำประดิษฐ์กรอบภาพคำศัพท์

แหล่งที่มา: http://ict.moph.go.th/English/content/nouns02_count.

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การสอนชั้นประถมศึกษา เนื้อหาเรื่อง คำศัพท์

                   การนำเสนอเกี่ยวกับเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่การนำเสนอคำศัพท์ด้วยแบบฝึกหัด เชิงเกมส์ หรือการทดสอบ รู้สึกว่าจะเข้าถึงบรรดาเด็กวัยประถมศึกษาได้มากกว่าการท่องจำอย่างเห็นได้ชัด

                  สำหรับในชั้นประถมเนื้อหาการเรียนการสอนจะเน้นไปยังการวางพื้นฐานภาษาอังกฤษต่างๆ ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการใช้ภาษาอังกฤษ คือคำศัพท์ ซึ่งในชั้นประถมนั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับคพำศัพท์ นั้นจำเป็นต้องใช้เทคนิคในการทำความเข้าใจกับเด็กอย่างมาก ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้การเรียนการสอนหน้าเบื่อ และทำให้เด็กเบื่อหน่ายไม่สนใจการเรียนการสอน และไม่เข้าใจเนื้อหาในที่สุด จำเป็นต้องจัดทำเอกสาร หรื่ออุปกรณ์ประกอบการสอนให้น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของเด็กนักเรียน ด้วยเกมส์ การทดสอบ หรืออุปกรณ์การสอนที่สีสันสะดุดตาน่าสนใจ แล้วแฝงด้วยเนื้อหาคำศัพท์เพื่อให้เด็กจดจำโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในเนื้อหา 
                    ในชั้นนี้จึงได้รวบรวมเอกสารประกอบการสอน เกี่ยวกับคำสัพท์ที่ใช้สอนในระดับประถมศึกษามานำเสนอ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ และหลายรูปแบบเพื่อความหลากหลายในการทำความเข้าใจกับเด็กนักเรียน และทำให้นักเรียนรู้สึกแปลกใหม่ไม่น่าเบื่อ สามารถศึกษาตามลิงค์ด้านล่างได้นะคะ
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 1  คำศัพท์ A-Z
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 2 แบบฝึกหัดเรื่อง Colour 
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 3 แบบฝึกหัดเรื่อง My number 1-10 
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 4 แบบฝึกหัดเรื่อง What's this?
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 5 แบบฝึกหัดเรื่อง Read and Translate 
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 6 แบบฝึกหัด เติมคำศัพท์ 
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 7 แบบฝึกหัด ทบทวนคำศัพท์
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 8 แบบฝึกหัด Advance 
                    เอกสารประกอบการสอนที่ 9 สื่อการสอนบัตรคำศัพท์ 


      

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ


 ปัญหาที่พบมากที่สุด ในการเรียนภาษาอังกฤษ
 


 
 Collocation : ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทย เขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
 
 พวกเราเขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ เพราะว่าเราถูกสอนอยู่เพียง 2 ส่วนคือ คำศัพท์ (Vocabulary) และ ไวยากรณ์ (Grammar) แต่ในความเป็นจริง คือ คำศัพท์ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นกลุ่มคำ ไม่ใช่นำคำศัพท์แต่ละคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยคเหมือนภาษาไทย
ยกตัวอย่างเช่น
"ฉันไปโรงเรียน"ฝรั่งใช้ I go to school.ไม่ใช่  I (ฉัน) go (ไป) school (โรงเรียน)
แต่ "ฉันกลับบ้าน"ฝรั่งใช้ I go home.ไม่ใช่ I go to home.
สุขสันต์วันเกิดแด่เธอHappy birthday to you.ไม่ใช่ Happy birthday for ( แด่ สำหรับ) you.
เขาผ่านไปฝรั่งใช้ He passed by.ไม่ใช่ He passed(ผ่าน) away (จากไป)
เพราะ "pass away" แปลว่า ล่วงลับ ตาย
เรามักใช้คำภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยตรงๆ จึงทำให้ฝรั่งไม่เข้าใจ
จากประสบการณ์ การทำงานแปลและเขียนภาษาอังกฤษ มาเป็นเวลานานกว่า 50ปี คุณวงศ์ วรรธนพิเชฐ ผู้เรียบเรียง พจนานุกรม English By Example มีความเห็นว่า ประโยคภาษาอังกฤษไม่ใช่มีเพียงแค่
ประธาน (Subject)
+
กริยา (Verb)
+
กรรม (Object)
แต่ความจริงแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งประโยคภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐาน มี 3 ส่วน คือ
คำศัพท์ (Vocabulary)
  
+
  
ไวยากรณ์ (Grammar)
=
ประโยค (Sentence)
+
  
Collocation
  
 
  Collocation คืออะไร
 อธิบายง่ายๆ Collocation คือ กลุ่มคำที่ต้องใช้ร่วมกัน หรือ เรียกอีกอย่างว่า "คำปรากฏร่วม"
จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น "go to school", "go home", "Happy birthday to you", "pass by", "pass away" เป็น Collocation
Collocation นั้นไม่เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ เพราะบางกลุ่มคำถึงแม้จะวางสลับตำแหน่ง หรือใช้คำไม่ถูก แต่ ก็ไม่ผิดไวยากรณ์แต่ประการใด แต่การใช้ Collocation ผิด จะทำให้เจ้าของภาษาหรือผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษมากๆ ทราบได้ทันทีว่า เราเป็นคนต่างชาติและใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
คำว่า Collocation มาจากคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ col (to do something with something or someone) + location มีคำแปลภาษาไทยว่า "คำปรากฏร่วม" Collocation เป็นการเชื่อมคำ การจัดวางคำ หรือกลุ่มคำ (รวมทั้ง idioms) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค ที่เจ้าของภาษานิยมใช้ และเห็นว่าถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนั้น จะใช้คำอื่นแทน หรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนจะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม
ความจริงทุกภาษาก็มี collocation รวมทั้งภาษาไทย ตัวอย่างเช่น
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกันแล้วสลับตำแหน่งกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation
บ่ายสองโมงไม่ใช่ สองโมงบ่าย (บ่ายต้องนำหน้าเวลา)
ห้าโมงเย็นไม่ใช่ เย็นห้าโมง (เย็นต้องตามหลังเวลา)
หรือ ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา (ฝนตกหนัก)ไม่ใช่ ฝนตกไม่ลืมตาลืมหู
คนไทยก็ไม่มีเหตุผล หรือหลักไวยากรณ์ในเรื่องนี้ ทั้งที่บ่ายกับเย็น มีความหมายบอกช่วงเวลาของวันเหมือนกัน หรือ หูกับตาก็เป็นอวัยวะเหมือนกัน แต่สลับตำแหน่งกันไม่ได้
English collocation
It rains cats and dogs.
ประโยคนี้เป็นสำนวน (idiom) แปลว่า ฝนตกหนัก
คำว่า cats and dogs เป็น collocation
เราไม่สามารถ เขียนเป็น dogs and cats หรือ cats and cows ได้
 
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกัน ความหมายก็เปลี่ยนไป เช่น

Thai collocation
หินอ่อน คือ marbleไม่ใช่ หินนุ่ม หินนิ่ม หรือ soft rock
ตัดถนน แปลว่า ทำถนนสายใหม่เพิ่มตัด แปลว่า ทำให้สั้นลง ลดลง แยกออกจากกัน
English collocation
The cloth has fast colour. (ผ้าสีไม่ตก)
เราจะทราบกันโดยส่วนใหญ่ว่า fast แปลว่า "เร็ว"
คำว่า stable หรือ durable ซึ่งแปลว่า "ทนทาน" น่าจะใกล้เคียงกว่า
แต่เจ้าของภาษาไม่ใช้คำว่า stable colour หรือ durable colour
ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า fast colour ตามเจ้าของภาษา ดังนั้นคำว่า fast colour จึงเป็น collocation
 
คำบางคำความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation
ย่านธุรกิจไม่ใช่ เขตธุรกิจ
เขตป่าสงวนไม่ใช่ ย่านป่าสงวน
พื้นที่สีเขียวไม่ใช่ เขต/ย่าน สีเขียว
English collocation
คำว่า strong กับ powerful มีความหมายใกล้เคียงกัน
แต่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า strong windstrong competition
และ powerful machinepowerful enginepowerful weapon
เราไม่สามารถใช้ strong machine หรือ powerful wind ได้
 
  ความสำคัญของ Collocation
 Collocation เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกละเลย ไม่ได้รับความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Collocation ถูกใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษ มากถึง 60-80% ดังนั้น การเน้นให้ท่องจำศัพท์เป็นคำๆ มากๆ จึงไม่ทำให้เราเรียนภาษาอังกฤษเก่งขึ้น เท่ากับการฝึกให้จดจำศัพท์เป็นกลุ่มคำ (Collocations) ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มีไม่ถึง 4,000 คำ แต่ Collocations หรือกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกับคำศัพท์เหล่านั้น มีมากมายหลายหมื่น Collocations ดั้งนั้น หากเรารู้ Collocations หลายหมื่น Collocations ก็เท่ากับว่า เราสามารถแต่งประโยคที่ถูกต้องได้มากมายนับไม่ถ้วน
ข้อควรระวังที่สำคัญยิ่ง พวกเราหลายคน ชอบเขียนภาษาอังกฤษแบบแปลตรงตัวจากไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งอาจมีการใช้ Collocation ผิด ทำให้ความหมายผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่น
  1. เธอเป็นคนใจเย็น
    Correct: She is cool-tempered.
    Wrong: She is cold-hearted. (เธอเป็นคนใจร้าย)
  2. เขาผ่านไป
    Correct: He passed by.
    Wrong: He passed away. (เขาเสียชีวิต)
  3. เขาทานยา
    Correct : He takes medicine.
    Wrong: He takes drugs.(เขาติดยาเสพติด)
  4. บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
    Correct: The house looks east.
    Wrong: The house turns to east.
  5. เธอเป็นคนง่ายๆ
    Correct: She is easy-going.
    Wrong: She is an easy woman. (เธอเป็นผู้หญิงใจง่าย)

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ครูสอนภาษา และบทบาทที่ครูต้องประยุกต์

           ครูสอนภาษาจําเปนตองพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อใหมีความรูที่เปจจุบัน  และสามารถนําความรูมาประยุกตใชในการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ความรูเกี่ยวกับศาสตรการเรียนการสอนภาษาเปลี่ยนไปแตละยุคสมัย แตละชวงเวลาองคความรูแตละยุคสมัยมีสวนชวยใหครูสอนภาษาเขาใจธรรมชาติการเรียนรูภาษา เนื้อหาที่จะนํามาสอน วิธีการเรียนการสอน และวิธีการวัด และประเมินผลในสมัยแรก ๆ การเรียนการสอนภาษาจะอิงอยูกับผลการวิเคราะหภาษาของนักภาษาศาสตรกลุมตางๆ เชน นัภาษาศาสตรกลุมวิเคราะหโครงสราง (structuralists) กลุมไวยากรณปริวรรต (transformationalists) และกลุมภาษาศาสตรสังคม (sociolinguists) อมานักภาษาศาสตรกลุมไวยากรณปริวรรตนําโดย Chomsky ไมเห็นดวยกับวิธีการของกลุมวิเคราะหโครงสราง เพราะมีความเห็นวาความหมายสําคัญกวารูปแบบ และองคประกอบของภาษาการเรียนภาษาโดยวิธีทองจํามีสวนชวยในการเรียนภาษานอยมาก ในทางจิตวิทยานักจิตวิทยาก็ไมเชื่อวาการทองจํามีความสําคัญในการเรียนรูและเชื่อวามนุษยมีความสามารถในดานความคิด แนวความคิดนี้มีผลตอการเรียนการสอน ภาษาจึงเปลี่ยนวิธีการจากการเน้นรูปแบบมาเน้นความหมาย และความเข้าใจเปนแบบ “Cognitive Approach” และใหความสําคัญกับการอาน และการเขียนในระยะหลังนักภาษาศาสตรกลุมไวยากรณปริวรรตโดนนักภาษาศาสตรสังคม เชน Hymes และ Halliday วิจารณเพราะวิธีการวิเคราะหภาษาของ Chomsky ไมสามารถอธิบายการใชภาษาในสถานการณาง ๆ ไดนอกจากนี้การวิเคราะหก็ไมคลุมถึงความสัมพันธระหวางภาษากับองคประกอบอื่นนอกเหนือจากภาษา นักภาษาศาสตรกลุมสังคมใหความสําคัญกับสถานะทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอมของผูเรียน อิทธิพลที่มีตอการเรียนการสอนภาษาคือ ทําใหเกิดการสอนภาษาแบบเนนสถานการณหรือ “Situational Approach” อมานักภาษาศาสตรกลุมภาษาปฏิบัติ (pragmaticists) เชน Spolsky และ Oller มองภาษาวาผูเรียนภาษาควรใชภาษาเปนเครื่องมือเพื่อการสื่อความคิด และความรูสึก โดย Oller (1978) กลาววา “Pragmatics is about how people communicate information about facts and feelings to other people through the use of language.”

           ในประเทศไทยสภาพแวดลอมการสอนภาษาตางจากการสอนภาษาเปภาษาที่สอง ครูสอนภาษาจึงตองพยายามหาขอมูลทางภาษาใหผูเรียนไดสัมผัสและไดใชมากที่สุด ทั้งยังตองจูงใจผูเรียนอีกดวย ในระดับอุดมศึกษาวิธีการที่อาจจะชวยใหผูเรียนเห็นความสําคัญของภาษาและเรียนภาษาอยางมีวัตถุประสงคที่แนชัด คือการสอนภาษาเฉพาะสาขาวิชา (English for Specific / Special Purposes หรือ ESP) Mackay และ Mountford (1978)  เสนอวาภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาวิชา  ไดแก

        1. ภาษาอังกฤษที่ใชในงานอาชีพ  เชน  ภาษาอังกฤษสําหรับพนักงานรับโทรศัพท ภาษาอังกฤษสําหรับนักบิน เปนต
        2. ภาษาอังกฤษสําหรับพนักงานปฏิบัติการ  เชน  ภาษาอังกฤษสําหรับเสมียนโรงแรม  ภาษาอังกฤษสําหรับชางเครื่อง  เปนต
        3. ภาษาอังกฤษในวงการวิชาการ เชน ภาษาอังกฤษสําหรับแพทยภาษาอังกฤษสําหรับวิศวกร  เปนตน 
Strevens (1977) แบงภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาวิชาเปน  2  ประเภท คือ
        1. ภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพ
        2. ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา 
ในการสํารวจวัตถุประสงคการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย กาญจนา ปราบพาล ภัสสรสิงคาลวณิช และอรอนงค หิรัญบูรณะ (2528) เสนอวัตถุประสงคการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเปน  3  ประเภท คือ
         1. ภาษาอังกฤษที่ใชในชีวิตประจําวัน
          2. ภาษาอังกฤษที่ใชในการศึกษา
          3. ภาษาอังกฤษที่ใชในงานอาชีพ
             การใชภาษาเพื่อสื่อความหมายไดในแตละประเภท ผูใชภาษาจําเปนตองมีความรูเกี่ยวกับเนื้อหาภาษา ทักษะทั่วไปในการใชภาษา เนื้อหาของภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาวิชา กลวิธีในการสื่อสารและทักษะการใชภาษาเฉพาะดาน ลักษณะของขมูลทางภาษาตองสอดคลองกับวัตถุประสงคในการสื่อสารเฉพาะดาน ดังที่ Widdowson กลาววา Learning Purpose และ Language Use องสัมพันธกัน และการใชภาษาไดผูใชภาษาตองมีความรู้เรื่องภาษา  สวนวิธีการที่จะชวยผูเรียนใหถึงจุดหมายไดมีรูปแบบหลากหลายในยุคโลกาภิวัตนและยุคขอมูลขาวสาร ผูเรียนมีโอกาสไดสัมผัสกับขอมูลทางภาษาแบบหลากหลายเปนลักษณะของภาษาที่ใชจริงในการสื่อสาร ครูสอนภาษาจึงมีโอกาสดีที่จะนําขอมูลเหลานี้มาใชใหเกิดประโยชนกับผูเรียน เชน จัดกิจกรรมเสริมบทเรียนโดยใชอมูลทาง Internet ใชคอมพิวเตอรวยในการให feedback ที่ไมจํากัดเวลาและสถานที่ ครูสอนภาษาในปจจุบันจึงตองปรับเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่ายทอดความรูเนื้อหาทางภาษาอยางเดียวเปนผูจัดกิจกรรมโดยนําขอมูลทางภาษาวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรูเปลี่ยนจากการเนนที่ครูมาเนนที่ผูเรียนวาจะชวยใหผูเรียนสามารถใชภาษาใหเปนประโยชนในการแสวงหาความรูวยตนเองไดอยางไร ดังที่ไดเสนอในตอนตนวา ศาสตรของการสอนภาษามีการพัฒนาตลอดเวลา ครูสอนภาษาจะยึดถืออยูที่แนวคิดใดแนวคิดหนึ่งไมได ครูสอนภาษาจําเปนตองติดตามความรูในศาสตรที่เปนปจจุบันสามารถนําความรูมาประยุกตใหเกิดประโยชนกับผูเรียนและในขณะเดียวกันตองติดตามความกาวหนาของโลกและพัฒนาตนเองตลอดเวลา ครูสอนภาษาจึงจะสามารถทําหนาที่ไดอยางเหมาะสมในยุคโลกาภิวัตนวิธีการเรียนการสอนแบบเรียนรูวยตนเองที่จะชวยฝกผูเรียนในระดับอุดมศึกษาใหผสมผสานความรูภาษาอังกฤษและความรูานเนื้อหาคือ การเรียนการสอนโดยใช Internet ทั้งนี้เพราะวาขอมูลภาษาที่ผูเรียนสามารถสัมผัสไดมีทั้งขอมูลที่ใชในชีวิตประจําวันเพื่อคนควาหาความรูและใชในการประกอบอาชีพ สําหรับลักษณะของภาษาที่ใชในชีวิตประจําวันที่ครูสอนภาษาสามารถจัดกิจกรรมใหผูเรียนฝกฝนดวยตนเองได เชน การหาขอมูลจาก Web Sites าง ๆ เชน Yahoo, CNN, ESL Caf e เปนตน สําหรับภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ครูอาจใหผูเรียนสืบคนขอมูลจาก ERIC และ electronic journal หรือแมแตการศึกษาแบบทางไกล (Distance Education) หรือรับทราบความกาวหนาในการเรียนการสอนแบบ neteach เปนตน สําหรับขอมูลทางภาษาในการประกอบอาชีพจะมีแยกไปตามสาขาวิชา เชน ภาษาอังกฤษสําหรับวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษสําหรับแพทย และภาษาอังกฤษสําหรับธุรกิจ เปนตน (รายละเอียดสําหรับ Web Sites าง ๆ ที่ครูสอนภาษาสนใจสามารถอานไดจาก The Internet Guide for English Language Teachers Web Sites โดย  Dave Sperling, 1997) อมูลทางภาษาเหลานี้คงเปนเพียง “input” าใชนิยามของ Krashen (1982) ครูสอนภาษามีหนาที่จะชวยแปลง “input” เหลานี้เปน “intake” คือ ผูเรียนสามารถ ซึมซับ เขาใจ และใชไดทั้งนี้ขึ้นอยูกับวิธีการและกระบวนการในการจัดกิจกรรมซึ่งเปนหนาที่ของครูสอนภาษาโดยเฉพาะ Goodwyn, Clarke และ Adams (1997) เสนอวา ครูสอนภาษาในอนาคตจะใชคอมพิวเตอรในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษา เพราะจะชวยพัฒนาทักษะการอานและการเขียน และความสามารถในการสื่อสารกับประชาคมโลกจะเห็นไดาถาครูสอนภาษาไมติดตามความรูตลอดเวลา เราอาจจะมองวิธีการเรียนการสอนภาษาตามยุคสมัยที่เราไดเรียนมา ซึ่งเปนความรูบางสวนขององคความรู ทั้งหมด และเปนองคความรูที่อาจไมเปนจริงในปจจุบัน ครูสอนภาษาจึงองพัฒนาตนเองตลอดเวลาโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตนที่ครูตองเตรียมเยาวชนของเราใหทัดเทียมและสามารถแขงขันกับเยาวชนของชาติอื่นได